ลองมาดูเนื้อหาที่ต้องเตรียมสอบกันนะครับ
1. Ethical and Professional Standards ถือเป็นหัวใจสำคัญของหลักสูตร CFA เพราะการที่คนๆ หนึ่งจะเป็นนักวิเคราะห์หรือผู้จัดการกองทุนมืออาชีพได้นั้น มีความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพด้วย หลักสำคัญก็คือว่า เราต้องยึดถือผลประโยชน์ของลูกค้ามาก่อนผลประโยชน์ของตนเองเสมอ หากทำเช่นนี้ได้เราจึงจะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้บริหารเงินของเขา ฟังดูเหมือนง่าย แต่คนที่เคยสอบ CFA ทุกคนลงความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในส่วนของจรรยาบรรณเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และข้อสอบยาก ข้อสอบจรรยาบรรณมีในหลักสูตร CFA ทั้ง 3 ระดับ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้
2. Quantitative Methods เนื้อหาส่วนใหญ่คล้ายกับวิชาสถิติที่เราเรียนกันในระดับปริญญาตรี แต่เป็นการเรียนที่เน้นการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ เนื้อหาหลักได้แก่ Probability, Sampling, Hypothesis Testing, Correlation, Time Series เป็นต้น คนที่ไม่ชอบคำนวณมักจะกลัววิชานี้ บางคนถึงกับถอดใจและตัดทิ้งไปเลย แต่ผมขอแนะนำว่า เท่าที่เห็นข้อสอบมา วิชานี้ข้อสอบค่อนข้างง่าย ตัวผมเองสมัยเรียนก็ไม่ชอบวิชาสถิติ แต่พอมาอ่านหนังสือวิชานี้ในหลักสูตร CFA กลับรู้สึกว่า สถิติง่ายกว่าที่คิด ข้อสอบก็ค่อนข้างตรงไปตรงมา สำหรับคนที่เคยเรียนสถิติมาแล้วในระดับปริญญาตรี สถิติน่าจะเป็นอีกวิชาหนึ่งที่เก็บคะแนนเข้ากระเป๋าได้
3. Economics เนื้อหาส่วนใหญ่ค่อนไปทาง Macroeconomics และเน้นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน เช่น Market Forces of Supply and Demand, Measuring National Income and Growth, Business Cycles, Inflation, Monetary and Fiscal Policy เป็นต้น โดยทั่วไปข้อสอบวิชานี้ไม่ค่อยยาก คนที่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์มาบ้างแล้วจะรู้สึกว่าวิชานี้สามารถตุนคะแนนเข้ากระเป๋าได้สบายๆ
4. Financial Reporting and Analysis คือวิชาบัญชีนี่เอง แต่เป็นวิชาบัญชีในเชิงบริหาร (Managerial Accounting) คือเรียนเพื่อให้สามารถวิเคราะห์งบการเงินได้ ไม่ได้เรียนเพื่อมาลงบัญชี เนื้อหาวิชานี้ประกอบด้วยเรื่อง Analysis of Long-Lived Assets, Analysis of Taxes, Analysis of Debt, Analysis of Off-Balance-Sheet Assets and Liabilities เป็นต้น คนที่สอบ CFA ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า วิชานี้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง Taxes และเรื่อง Pensions รวมทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ตามมาตรฐาน IFRS และ GAAP ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่จริงวิชานี้มีจุดมุ่งหมายให้นักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนสามารถอ่านงบการเงินให้ออก บริษัทที่จดทะเบียนในแต่ละประเทศอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีที่ต่างกัน เราจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างและสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของบริษัท 2 บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่อยู่ภายใต้มาตรฐานบัญชีต่างกันได้ สำหรับน้องๆ ที่ยังเรียน ป. โท และมีแผนจะสอบ CFA ขอแนะนำว่า ให้ลงเรียนวิชาบัญชี (ถ้าสามารถเลือกได้) โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาบัญชีขั้นกลาง (Intermediate Accounting) จะช่วยในการเตรียมสอบ CFA ได้มาก
วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบCFA Schweser Study Notes 2016 มีขายค่ะ level 1,level2,level3
ตอบลบสนใจติดต่อร้านถ่ายเอกสารspycopy อยู่แถวตลาดสามย่านค่ะ โทร 0988748976,0813837976
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ