สำหรับน้องๆ ที่เตรียมตัวสอบ CFA Level 1 ในเดือน June นี้ คอยติดตามกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ครับ
25 April 2010 - CFA Level 1 Study Group เป็นการติวเข้มก่อนสอบ โดยพี่ๆ จากสมาคม CFA Soceity of Thailand ค่าสมัครเพียง 900 บาทเท่านั้น (หากสมัคร online ภายในวันที่ 22 April) รีบหน่อยนะครับ จำกัดจำนวนเพียง 80 ท่านเท่านั้น
Mid May - Practice Exam for Level 1,2 and 3 เป็นการทดลองสอบโดยจำลองบรรยากาศให้ใกล้เคียงกับการสอบจริงมากที่สุด เพื่อให้น้องๆ ได้ประเมินความพร้อมของตัวเองและรีบแก้ไขจุดบกพร่องก่อนการไปสอบจริง
สำหรับน้องๆ ที่เตรียมสอบ CFA ทั้ง 3 Level ในปีหน้า (June 2011) คอยติดตามการประกาศรับสมัคร CFA Scholarship Program โดยทางสมาคมมีทุนให้น้องๆ ปีละ 10 ทุน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการสอบ CFA คาดว่าจะเปิดรับสมัครในเดือนตุลาคม คอยติดตามข่าวนะครับ
ติดตามรายละเอียดได้ที่ CFA Society of Thailand
วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553
CFA Level 1 มีเนื้อหาอะไรบ้าง (2)
5. Corporate Finance เนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารการเงินให้กับบริษัท ซึ่งเป็นหน้าที่ของ Chief Financial Officer (CFO) เช่น Capital Budgeting (NPV, IRR), Dividend Policy, Merger and Acquisition, Corporate Governance เป็นต้น Corporate Finance เป็นอีกวิชาหนึ่งที่เนื้อหาค่อนข้างง่าย และข้อสอบส่วนใหญ่ตรงไปตรงมา ขอแนะนำให้เก็บคะแนนส่วนนี้เข้ากระเป๋าให้มากที่สุด
6. Equity Investments เป็นเรื่องเกี่ยวกับตลาดหุ้นและการวิเคราะห์การลงทุนในหุ้น เนื้อหาในส่วนนี้มีทั้งการคำนวณ เช่น การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ที่เหมาะสม (คนที่เรียนวิชาการเงินมาบ้างอาจจะพอจำเรื่อง Discounted Cash Flow หรือ DCF รวมทั้งเรื่อง Capital Asset Pricing Model หรือ CAPMได้บ้าง) และส่วนที่เป็นการทำความเข้าใจ เช่น ระบบการทำงานของตลาดหลักทรัพย์ การส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น เป็นต้น โดยทั่วไปวิชานี้เนื้อหาค่อนข้างง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสอบใน Level I สูตรที่ใช้คำนวณไม่ค่อยซับซ้อน เพราะส่วนใหญ่เป็นสูตรที่อยู่บนพื้นฐานของ DCF และข้อสอบก็ค่อนข้างตรงไปตรงมา
7. Fixed Income เป็นเรื่องเกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้และการวิเคราะห์การลงทุนในตราสารหนี้ เมื่อเทียบกับเรื่องตราสารทุนแล้ว คนส่วนใหญ่จะพบว่า เรื่องตราสารหนี้ยากกว่า เพราะเป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยคุ้นเคย และตราสารหนี้โดยตัวของมันเองก็มีความสลับซับซ้อนมากกว่าหุ้นหลายเท่า เนื้อหาเริ่มจากเรื่องง่าย เช่น การคำนวณมูลค่าพันธบัตรแบบธรรมดาๆ การคำนวณ Duration เพื่อวิเคราะห์ Interest Rate Risk ไปจนถึงเรื่องยาก เช่น ตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนจำพวก MBS, ABS, Callable Bonds หรือ การคำนวณมูลค่าตราสารหนี้ที่มีอนุพันธ์เป็นองค์ประกอบ (Valuing bonds with embedded options)
สำหรับส่วนอื่นๆ ได้แก่ Derivatives, Alternative Investments, และ Portfolio Management มีน้ำหนักน้อยใน Level 1 ขอเก็บไว้เล่าให้ฟังเมื่อจะพูดถึง Level 2 และ 3 นะครับ
6. Equity Investments เป็นเรื่องเกี่ยวกับตลาดหุ้นและการวิเคราะห์การลงทุนในหุ้น เนื้อหาในส่วนนี้มีทั้งการคำนวณ เช่น การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ที่เหมาะสม (คนที่เรียนวิชาการเงินมาบ้างอาจจะพอจำเรื่อง Discounted Cash Flow หรือ DCF รวมทั้งเรื่อง Capital Asset Pricing Model หรือ CAPMได้บ้าง) และส่วนที่เป็นการทำความเข้าใจ เช่น ระบบการทำงานของตลาดหลักทรัพย์ การส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น เป็นต้น โดยทั่วไปวิชานี้เนื้อหาค่อนข้างง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสอบใน Level I สูตรที่ใช้คำนวณไม่ค่อยซับซ้อน เพราะส่วนใหญ่เป็นสูตรที่อยู่บนพื้นฐานของ DCF และข้อสอบก็ค่อนข้างตรงไปตรงมา
7. Fixed Income เป็นเรื่องเกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้และการวิเคราะห์การลงทุนในตราสารหนี้ เมื่อเทียบกับเรื่องตราสารทุนแล้ว คนส่วนใหญ่จะพบว่า เรื่องตราสารหนี้ยากกว่า เพราะเป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยคุ้นเคย และตราสารหนี้โดยตัวของมันเองก็มีความสลับซับซ้อนมากกว่าหุ้นหลายเท่า เนื้อหาเริ่มจากเรื่องง่าย เช่น การคำนวณมูลค่าพันธบัตรแบบธรรมดาๆ การคำนวณ Duration เพื่อวิเคราะห์ Interest Rate Risk ไปจนถึงเรื่องยาก เช่น ตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนจำพวก MBS, ABS, Callable Bonds หรือ การคำนวณมูลค่าตราสารหนี้ที่มีอนุพันธ์เป็นองค์ประกอบ (Valuing bonds with embedded options)
สำหรับส่วนอื่นๆ ได้แก่ Derivatives, Alternative Investments, และ Portfolio Management มีน้ำหนักน้อยใน Level 1 ขอเก็บไว้เล่าให้ฟังเมื่อจะพูดถึง Level 2 และ 3 นะครับ
CFA Level 1 มีเนื้อหาอะไรบ้าง (1)
ลองมาดูเนื้อหาที่ต้องเตรียมสอบกันนะครับ
1. Ethical and Professional Standards ถือเป็นหัวใจสำคัญของหลักสูตร CFA เพราะการที่คนๆ หนึ่งจะเป็นนักวิเคราะห์หรือผู้จัดการกองทุนมืออาชีพได้นั้น มีความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพด้วย หลักสำคัญก็คือว่า เราต้องยึดถือผลประโยชน์ของลูกค้ามาก่อนผลประโยชน์ของตนเองเสมอ หากทำเช่นนี้ได้เราจึงจะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้บริหารเงินของเขา ฟังดูเหมือนง่าย แต่คนที่เคยสอบ CFA ทุกคนลงความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในส่วนของจรรยาบรรณเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และข้อสอบยาก ข้อสอบจรรยาบรรณมีในหลักสูตร CFA ทั้ง 3 ระดับ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้
2. Quantitative Methods เนื้อหาส่วนใหญ่คล้ายกับวิชาสถิติที่เราเรียนกันในระดับปริญญาตรี แต่เป็นการเรียนที่เน้นการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ เนื้อหาหลักได้แก่ Probability, Sampling, Hypothesis Testing, Correlation, Time Series เป็นต้น คนที่ไม่ชอบคำนวณมักจะกลัววิชานี้ บางคนถึงกับถอดใจและตัดทิ้งไปเลย แต่ผมขอแนะนำว่า เท่าที่เห็นข้อสอบมา วิชานี้ข้อสอบค่อนข้างง่าย ตัวผมเองสมัยเรียนก็ไม่ชอบวิชาสถิติ แต่พอมาอ่านหนังสือวิชานี้ในหลักสูตร CFA กลับรู้สึกว่า สถิติง่ายกว่าที่คิด ข้อสอบก็ค่อนข้างตรงไปตรงมา สำหรับคนที่เคยเรียนสถิติมาแล้วในระดับปริญญาตรี สถิติน่าจะเป็นอีกวิชาหนึ่งที่เก็บคะแนนเข้ากระเป๋าได้
3. Economics เนื้อหาส่วนใหญ่ค่อนไปทาง Macroeconomics และเน้นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน เช่น Market Forces of Supply and Demand, Measuring National Income and Growth, Business Cycles, Inflation, Monetary and Fiscal Policy เป็นต้น โดยทั่วไปข้อสอบวิชานี้ไม่ค่อยยาก คนที่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์มาบ้างแล้วจะรู้สึกว่าวิชานี้สามารถตุนคะแนนเข้ากระเป๋าได้สบายๆ
4. Financial Reporting and Analysis คือวิชาบัญชีนี่เอง แต่เป็นวิชาบัญชีในเชิงบริหาร (Managerial Accounting) คือเรียนเพื่อให้สามารถวิเคราะห์งบการเงินได้ ไม่ได้เรียนเพื่อมาลงบัญชี เนื้อหาวิชานี้ประกอบด้วยเรื่อง Analysis of Long-Lived Assets, Analysis of Taxes, Analysis of Debt, Analysis of Off-Balance-Sheet Assets and Liabilities เป็นต้น คนที่สอบ CFA ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า วิชานี้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง Taxes และเรื่อง Pensions รวมทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ตามมาตรฐาน IFRS และ GAAP ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่จริงวิชานี้มีจุดมุ่งหมายให้นักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนสามารถอ่านงบการเงินให้ออก บริษัทที่จดทะเบียนในแต่ละประเทศอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีที่ต่างกัน เราจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างและสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของบริษัท 2 บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่อยู่ภายใต้มาตรฐานบัญชีต่างกันได้ สำหรับน้องๆ ที่ยังเรียน ป. โท และมีแผนจะสอบ CFA ขอแนะนำว่า ให้ลงเรียนวิชาบัญชี (ถ้าสามารถเลือกได้) โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาบัญชีขั้นกลาง (Intermediate Accounting) จะช่วยในการเตรียมสอบ CFA ได้มาก
1. Ethical and Professional Standards ถือเป็นหัวใจสำคัญของหลักสูตร CFA เพราะการที่คนๆ หนึ่งจะเป็นนักวิเคราะห์หรือผู้จัดการกองทุนมืออาชีพได้นั้น มีความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพด้วย หลักสำคัญก็คือว่า เราต้องยึดถือผลประโยชน์ของลูกค้ามาก่อนผลประโยชน์ของตนเองเสมอ หากทำเช่นนี้ได้เราจึงจะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้บริหารเงินของเขา ฟังดูเหมือนง่าย แต่คนที่เคยสอบ CFA ทุกคนลงความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในส่วนของจรรยาบรรณเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และข้อสอบยาก ข้อสอบจรรยาบรรณมีในหลักสูตร CFA ทั้ง 3 ระดับ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้
2. Quantitative Methods เนื้อหาส่วนใหญ่คล้ายกับวิชาสถิติที่เราเรียนกันในระดับปริญญาตรี แต่เป็นการเรียนที่เน้นการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ เนื้อหาหลักได้แก่ Probability, Sampling, Hypothesis Testing, Correlation, Time Series เป็นต้น คนที่ไม่ชอบคำนวณมักจะกลัววิชานี้ บางคนถึงกับถอดใจและตัดทิ้งไปเลย แต่ผมขอแนะนำว่า เท่าที่เห็นข้อสอบมา วิชานี้ข้อสอบค่อนข้างง่าย ตัวผมเองสมัยเรียนก็ไม่ชอบวิชาสถิติ แต่พอมาอ่านหนังสือวิชานี้ในหลักสูตร CFA กลับรู้สึกว่า สถิติง่ายกว่าที่คิด ข้อสอบก็ค่อนข้างตรงไปตรงมา สำหรับคนที่เคยเรียนสถิติมาแล้วในระดับปริญญาตรี สถิติน่าจะเป็นอีกวิชาหนึ่งที่เก็บคะแนนเข้ากระเป๋าได้
3. Economics เนื้อหาส่วนใหญ่ค่อนไปทาง Macroeconomics และเน้นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน เช่น Market Forces of Supply and Demand, Measuring National Income and Growth, Business Cycles, Inflation, Monetary and Fiscal Policy เป็นต้น โดยทั่วไปข้อสอบวิชานี้ไม่ค่อยยาก คนที่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์มาบ้างแล้วจะรู้สึกว่าวิชานี้สามารถตุนคะแนนเข้ากระเป๋าได้สบายๆ
4. Financial Reporting and Analysis คือวิชาบัญชีนี่เอง แต่เป็นวิชาบัญชีในเชิงบริหาร (Managerial Accounting) คือเรียนเพื่อให้สามารถวิเคราะห์งบการเงินได้ ไม่ได้เรียนเพื่อมาลงบัญชี เนื้อหาวิชานี้ประกอบด้วยเรื่อง Analysis of Long-Lived Assets, Analysis of Taxes, Analysis of Debt, Analysis of Off-Balance-Sheet Assets and Liabilities เป็นต้น คนที่สอบ CFA ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า วิชานี้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง Taxes และเรื่อง Pensions รวมทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ตามมาตรฐาน IFRS และ GAAP ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่จริงวิชานี้มีจุดมุ่งหมายให้นักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนสามารถอ่านงบการเงินให้ออก บริษัทที่จดทะเบียนในแต่ละประเทศอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีที่ต่างกัน เราจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างและสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของบริษัท 2 บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่อยู่ภายใต้มาตรฐานบัญชีต่างกันได้ สำหรับน้องๆ ที่ยังเรียน ป. โท และมีแผนจะสอบ CFA ขอแนะนำว่า ให้ลงเรียนวิชาบัญชี (ถ้าสามารถเลือกได้) โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาบัญชีขั้นกลาง (Intermediate Accounting) จะช่วยในการเตรียมสอบ CFA ได้มาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)