วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556
ในบรรดาสายงานอาชีพด้านการเงินนั้น มีบางตำแหน่งงานที่ต้องได้รับความเห็นชอบครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ต้องการทำงานเป็น
1. ผู้แนะนำการลงทุน (หรือ เจ้าหน้าที่การตลาด)
2. นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
3. ผู้จัดการกองทุน
เราจัดให้งานเหล่านี้เป็น “วิชาชีพ” เพราะเป็นงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการ “ดูแลบริหารเงินของลูกค้า” จึงเป็นงานที่ต้องการคนที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง ต้องผ่านการทดสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และในบางกรณี บังคับว่าต้องมีประสบการณ์ทำงานด้วยครับ
จากสถิติ ณ สิ้นปี 2555 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ด้านต่างๆ ดังนี้
- ได้รับความเห็นชอบให้เป็น “ผู้จัดการกองทุน” ประมาณ 400 คน
- ได้รับความเห็นชอบให้เป็น “นักวิเคราะห์การลงทุน” ทั้งด้านตลาดทุน ด้านหลักทรัพย์ และด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมกันประมาณ 1,100 คน
- ได้รับความเห็นชอบให้เป็น “ผู้แนะนำการลงทุน” ทั้งด้านตลาดทุน ด้านหลักทรัพย์ ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ด้านกองทุน ฯลฯ รวมกันประมาณ 34,000 คน
ถ้าอยากรู้ว่า การได้รับความเห็นชอบต้องทำอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในตอนต่อไปครับ ^_^
วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556
เส้นทางอาชีพของนักการเงิน
โดย คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
สายการธนาคาร เป็น สายที่นักการเงินคุ้นเคยมากที่สุด และเป็นสายงานที่เก่าแก่ที่สุด สมัยที่ดิฉันอยู่ต่างจังหวัด ใครได้ทำงานธนาคารถือว่าโก้สุดๆ ได้สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกเนกไท ได้นั่งทำงานในสถานที่ที่โอ่โถง ภูมิฐาน และไปพบลูกค้าลูกค้าก็จะต้อนรับทักทายปราศรัยด้วยเป็นอย่างดี สายนี้จะเน้นหน้าที่หลักคือปล่อยสินเชื่อ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์เครดิต การวิเคราะห์ธุรกิจและโครงการ รวมถึงการจัดวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า ผู้ทำหน้าที่นี้อาจเรียนจบเศรษฐศาสตร์แล้วมาฝึกฝนเรียนรู้ในงานก็ได้
นอกจากการปล่อยสินเชื่อแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งที่ต้องอาศัยผู้มีความรู้ทางด้านการเงินคือ สายบริหารเงิน ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการเป็นดีลเลอร์ และเทรดเดอร์ด้วย กลุ่มนี้จะต้องคิดเร็ว ตัดสินใจเร็ว เพราะมีโอกาสทำกำไร หรือทำให้ขาดทุนได้ ส่วนใหญ่ผู้ทำงานด้านนี้มักจะมีทักษะทางคณิตศาสตร์ดีมาก และในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา นิยมรับผู้จบปริญญาโททางการเงิน ที่มีพื้นฐานปริญญาตรีทางวิศวกรรม สันนิษฐานว่า เกิดจากการที่ธนาคารกสิกรไทยส่งนักเรียนทุนที่จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ไปเรียนปริญญาโททางด้านการเงิน แล้วกลับมาทำงานบริหารเงินได้ดี
คนอาจจะสงสัยว่า หน้าที่อื่นๆ เช่น หาเงินฝากหรือดูแลด้านอื่นๆ ในธนาคาร ไม่จำเป็นต้องจบการเงินหรือไฉน ก็ต้องขอตอบตามที่สังเกตมาว่า เจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านอื่นๆ นั้น อาจจะจบทางด้านเศรษฐศาสตร์ บัญชีการตลาด กฎหมาย หรือทางด้านสังคมศาสตร์อื่นๆ ก็ได้ค่ะ
การเงินของบริษัท คือผู้ที่ทำหน้าที่กระเป๋าเงินให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่แสวงหาผลกำไร หรือไม่แสวงหาผลกำไร หน้าที่ก็มีตั้งแต่จัดหาเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ ซึ่งมีทางเลือกหลักๆ คือ ใช้ส่วนของทุน (Equity) ใช้เงินกู้ยืม (Debt) หรือใช้เครดิตทางการค้า (Supplier’s Credit) ส่วนที่ใช้ตราสารใหม่ๆ ก็จะแทรกอยู่ในหมวดหลักๆ เหล่านี้ทั้งนั้นค่ะ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ ก็เป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) ก็เป็นอนุพันธ์ของตราสารทุน เป็นต้น
นอกจากการจัดหาเงินแล้วก็ต้องดูแลการใช้เงิน และจ่ายเงิน เช่น การซื้อวัตถุดิบ การควบคุมจำนวนสินค้าระหว่างผลิต การควบคุมลูกหนี้การค้าในกรณีที่มีการให้เทอมเครดิตกับผู้ซื้อ และการจัดเก็บหนี้ให้มีประสิทธิภาพ
ผู้ทำหน้าที่ดูแลการเงินของบริษัท ถ้าเป็นในสมัยก่อนที่เป็นธุรกิจครอบครัว ก็อาจจะเป็นเถ้าแก่เนี้ย คือภรรยาของเจ้าของกิจการดูแลเอง สมัยนี้ตำแหน่งสูงสุดก็เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน (Chief Financial Officer) ซึ่งในหลายๆ องค์กรก็เป็นผู้หญิง ตำแหน่งทางการเงินนี้ มักจะเป็นตำแหน่งที่เป็นหมายเลขสองขององค์กร เพราะเป็นผู้กุมกระเป๋าเงินค่ะ
สายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ ใน ยุคใดที่ตลาดหุ้นรุ่งเรือง ผู้ทำงานในสายนี้จะเป็นมนุษย์ทองคำกันเลยทีเดียว ได้โบนัสกันเป็นจำนวนเดือนที่เป็นเลขสองหลัก ทำให้สายนี้ดึงดูดผู้คนเข้ามาทำงานกันมากมายในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ชีวิตมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ยามตลาดซบเซาก็ได้รับซองขาวให้จากไปเพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัทเช่นกัน
ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจบด้านการเงินจะเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analyst) และเป็นวาณิชธนากร (Investment Banker) หน้าที่ของวาณิชธนากรนี่กว้างมากเช่นกัน ทำได้ตั้งแต่ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าในการจัดโครงสร้างทางการเงิน หรือทำหน้าที่ด้าน Corporate Finance เนื่องจากบริษัทบางแห่งจะมีขนาดใหญ่โต มีความต้องการทางการเงินหลากหลาย ผู้ทำหน้าที่ดูแลการเงินของบริษัทในสายงานกลุ่มที่สองที่กล่าวถึงเบื้องต้น อาจไม่สามารถดูแล ตัดสินใจได้ ต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
วาณิชธนากรยังให้คำปรึกษาในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และนำหุ้นออกเสนอขายให้กับประชาชน (IPO) โดยจะช่วยทำเอกสาร ช่วยประเมินมูลค่าหุ้น ช่วยนำเสนอต่อผู้ลงทุน และอาจจะช่วยดูแลหุ้นหลังจากเข้าไปทำการซื้อขายในตลาดแล้วสักระยะหนึ่ง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการและการควบรวมกิจการอีกด้วย
สายจัดการลงทุน แต่เดิมการจัดการลงทุนเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์กรที่มีเงินเหลือ เช่น ธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารจะบริหารสภาพคล่องส่วนเกิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายบริหารเงิน และในบางครั้งก็อาจมีการพิจารณาลงทุนในบริษัทต่างๆ บ้างเมื่อมีผู้เสนอให้ลงทุน นอกจากนี้ กลุ่มจัดการลงทุนนี้ ยังทำหน้าที่อยู่ในสถาบันต่างๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย องค์กรเพื่อการกุศล และบริษัทหรือบุคคลต่างๆ ที่มีเงินให้บริหารจัดการ เพื่อหารายได้จากการลงทุน กลุ่มนี้จะเป็นการบริหารเงินลงทุนเพื่อองค์กร (Proprietary Investment)
สายการจัดการลงทุนเพื่อบุคคลอื่นนั้น เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากทางการได้เพิ่มใบอนุญาตจัดการลงทุน จากเดิมที่มีเพียง 1 บริษัท เป็น 8 บริษัท จดกระทั่งในปัจจุบันมีบริษัทที่ประกอบธุรกิจจัดการลงทุน ทั้งกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวม 30 บริษัท ถือว่าไม่น้อยทีเดียว
งานของนักการเงินในสายจัดการลงทุนนี้ จะเป็นงานวิเคราะห์อุตสาหกรรมและวิเคราะห์หลักทรัพย์ และที่คนมองว่าเป็นหัวใจคือ การจัดการลงทุน จริงๆ แล้วต้องทำงานเป็นทีมค่ะ การวิเคราะห์ก็มีความสำคัญมาก หากวิเคราะห์ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะเสียโอกาส หรืออาจจะเสียเงิน และยิ่งเป็นเงินของผู้อื่นแล้ว ยิ่งมีความเครียดและกดดันมากกว่าการบริหารเงินของตนเองเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นงานในสายใด ทั้งสี่สายนี้ต่างก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์ และความรอบคอบทั้งนั้น เนื่องจากต้องทำเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ข้อผิดพลาดจึงเป็นเรื่องใหญ่ คงต้องนำไปเขียนต่อสัปดาห์หน้าแล้วล่ะค่ะ ว่าหากจะเลือกทำงานในสายต่างๆ ที่ว่ามานี้ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จะเตรียมตัวอย่างไร และควรจะเลือกเรียนวิชาใดเป็นการเฉพาะเจาะจง
คนที่เรียนบริหารธุรกิจและมีวิชาเอกคือวิชาการเงิน
สามารถเลือกเส้นทางอาชีพสายตรงได้ 4 สายหลักๆ คือ สายการธนาคาร (Banking)
การเงินของบริษัท (Corporate Finance) สายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ
(Securities and Investment Banking) และสายจัดการลงทุน (Fund Management)
สายการธนาคาร เป็น สายที่นักการเงินคุ้นเคยมากที่สุด และเป็นสายงานที่เก่าแก่ที่สุด สมัยที่ดิฉันอยู่ต่างจังหวัด ใครได้ทำงานธนาคารถือว่าโก้สุดๆ ได้สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกเนกไท ได้นั่งทำงานในสถานที่ที่โอ่โถง ภูมิฐาน และไปพบลูกค้าลูกค้าก็จะต้อนรับทักทายปราศรัยด้วยเป็นอย่างดี สายนี้จะเน้นหน้าที่หลักคือปล่อยสินเชื่อ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์เครดิต การวิเคราะห์ธุรกิจและโครงการ รวมถึงการจัดวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า ผู้ทำหน้าที่นี้อาจเรียนจบเศรษฐศาสตร์แล้วมาฝึกฝนเรียนรู้ในงานก็ได้
นอกจากการปล่อยสินเชื่อแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งที่ต้องอาศัยผู้มีความรู้ทางด้านการเงินคือ สายบริหารเงิน ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการเป็นดีลเลอร์ และเทรดเดอร์ด้วย กลุ่มนี้จะต้องคิดเร็ว ตัดสินใจเร็ว เพราะมีโอกาสทำกำไร หรือทำให้ขาดทุนได้ ส่วนใหญ่ผู้ทำงานด้านนี้มักจะมีทักษะทางคณิตศาสตร์ดีมาก และในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา นิยมรับผู้จบปริญญาโททางการเงิน ที่มีพื้นฐานปริญญาตรีทางวิศวกรรม สันนิษฐานว่า เกิดจากการที่ธนาคารกสิกรไทยส่งนักเรียนทุนที่จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ไปเรียนปริญญาโททางด้านการเงิน แล้วกลับมาทำงานบริหารเงินได้ดี
คนอาจจะสงสัยว่า หน้าที่อื่นๆ เช่น หาเงินฝากหรือดูแลด้านอื่นๆ ในธนาคาร ไม่จำเป็นต้องจบการเงินหรือไฉน ก็ต้องขอตอบตามที่สังเกตมาว่า เจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านอื่นๆ นั้น อาจจะจบทางด้านเศรษฐศาสตร์ บัญชีการตลาด กฎหมาย หรือทางด้านสังคมศาสตร์อื่นๆ ก็ได้ค่ะ
การเงินของบริษัท คือผู้ที่ทำหน้าที่กระเป๋าเงินให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่แสวงหาผลกำไร หรือไม่แสวงหาผลกำไร หน้าที่ก็มีตั้งแต่จัดหาเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ ซึ่งมีทางเลือกหลักๆ คือ ใช้ส่วนของทุน (Equity) ใช้เงินกู้ยืม (Debt) หรือใช้เครดิตทางการค้า (Supplier’s Credit) ส่วนที่ใช้ตราสารใหม่ๆ ก็จะแทรกอยู่ในหมวดหลักๆ เหล่านี้ทั้งนั้นค่ะ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ ก็เป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) ก็เป็นอนุพันธ์ของตราสารทุน เป็นต้น
นอกจากการจัดหาเงินแล้วก็ต้องดูแลการใช้เงิน และจ่ายเงิน เช่น การซื้อวัตถุดิบ การควบคุมจำนวนสินค้าระหว่างผลิต การควบคุมลูกหนี้การค้าในกรณีที่มีการให้เทอมเครดิตกับผู้ซื้อ และการจัดเก็บหนี้ให้มีประสิทธิภาพ
ผู้ทำหน้าที่ดูแลการเงินของบริษัท ถ้าเป็นในสมัยก่อนที่เป็นธุรกิจครอบครัว ก็อาจจะเป็นเถ้าแก่เนี้ย คือภรรยาของเจ้าของกิจการดูแลเอง สมัยนี้ตำแหน่งสูงสุดก็เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน (Chief Financial Officer) ซึ่งในหลายๆ องค์กรก็เป็นผู้หญิง ตำแหน่งทางการเงินนี้ มักจะเป็นตำแหน่งที่เป็นหมายเลขสองขององค์กร เพราะเป็นผู้กุมกระเป๋าเงินค่ะ
สายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ ใน ยุคใดที่ตลาดหุ้นรุ่งเรือง ผู้ทำงานในสายนี้จะเป็นมนุษย์ทองคำกันเลยทีเดียว ได้โบนัสกันเป็นจำนวนเดือนที่เป็นเลขสองหลัก ทำให้สายนี้ดึงดูดผู้คนเข้ามาทำงานกันมากมายในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ชีวิตมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ยามตลาดซบเซาก็ได้รับซองขาวให้จากไปเพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัทเช่นกัน
ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจบด้านการเงินจะเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analyst) และเป็นวาณิชธนากร (Investment Banker) หน้าที่ของวาณิชธนากรนี่กว้างมากเช่นกัน ทำได้ตั้งแต่ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าในการจัดโครงสร้างทางการเงิน หรือทำหน้าที่ด้าน Corporate Finance เนื่องจากบริษัทบางแห่งจะมีขนาดใหญ่โต มีความต้องการทางการเงินหลากหลาย ผู้ทำหน้าที่ดูแลการเงินของบริษัทในสายงานกลุ่มที่สองที่กล่าวถึงเบื้องต้น อาจไม่สามารถดูแล ตัดสินใจได้ ต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
วาณิชธนากรยังให้คำปรึกษาในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และนำหุ้นออกเสนอขายให้กับประชาชน (IPO) โดยจะช่วยทำเอกสาร ช่วยประเมินมูลค่าหุ้น ช่วยนำเสนอต่อผู้ลงทุน และอาจจะช่วยดูแลหุ้นหลังจากเข้าไปทำการซื้อขายในตลาดแล้วสักระยะหนึ่ง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการและการควบรวมกิจการอีกด้วย
สายจัดการลงทุน แต่เดิมการจัดการลงทุนเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์กรที่มีเงินเหลือ เช่น ธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารจะบริหารสภาพคล่องส่วนเกิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายบริหารเงิน และในบางครั้งก็อาจมีการพิจารณาลงทุนในบริษัทต่างๆ บ้างเมื่อมีผู้เสนอให้ลงทุน นอกจากนี้ กลุ่มจัดการลงทุนนี้ ยังทำหน้าที่อยู่ในสถาบันต่างๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย องค์กรเพื่อการกุศล และบริษัทหรือบุคคลต่างๆ ที่มีเงินให้บริหารจัดการ เพื่อหารายได้จากการลงทุน กลุ่มนี้จะเป็นการบริหารเงินลงทุนเพื่อองค์กร (Proprietary Investment)
สายการจัดการลงทุนเพื่อบุคคลอื่นนั้น เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากทางการได้เพิ่มใบอนุญาตจัดการลงทุน จากเดิมที่มีเพียง 1 บริษัท เป็น 8 บริษัท จดกระทั่งในปัจจุบันมีบริษัทที่ประกอบธุรกิจจัดการลงทุน ทั้งกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวม 30 บริษัท ถือว่าไม่น้อยทีเดียว
งานของนักการเงินในสายจัดการลงทุนนี้ จะเป็นงานวิเคราะห์อุตสาหกรรมและวิเคราะห์หลักทรัพย์ และที่คนมองว่าเป็นหัวใจคือ การจัดการลงทุน จริงๆ แล้วต้องทำงานเป็นทีมค่ะ การวิเคราะห์ก็มีความสำคัญมาก หากวิเคราะห์ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะเสียโอกาส หรืออาจจะเสียเงิน และยิ่งเป็นเงินของผู้อื่นแล้ว ยิ่งมีความเครียดและกดดันมากกว่าการบริหารเงินของตนเองเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นงานในสายใด ทั้งสี่สายนี้ต่างก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์ และความรอบคอบทั้งนั้น เนื่องจากต้องทำเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ข้อผิดพลาดจึงเป็นเรื่องใหญ่ คงต้องนำไปเขียนต่อสัปดาห์หน้าแล้วล่ะค่ะ ว่าหากจะเลือกทำงานในสายต่างๆ ที่ว่ามานี้ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จะเตรียมตัวอย่างไร และควรจะเลือกเรียนวิชาใดเป็นการเฉพาะเจาะจง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)